หัวข้อ   “ความเห็นประเด็นเศรษฐกิจ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2010”
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กร
ชั้นนำ 20 แห่ง เรื่อง “ความเห็นประเด็นเศรษฐกิจ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2010”   พบว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่
ร้อยละ 75.9 เชื่อว่าเศรษฐกิจของไทยปี 2553 จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจริงตามที่หน่วยงานประกาศ พร้อมมองประเด็น
การลดค่าเงินด่องของประเทศเวียดนามเป็นครั้งที่ 2 ว่าจะกระทบกับการส่งออกของไทยเพียงเล็กน้อย เนื่องจาก
(1) สินค้าของไทยมีคุณภาพดีกว่าสินค้าของเวียดนาม (2) เวียดนามได้ประโยชน์จากค่าเงินก็จริงแต่เสียเปรียบด้าน
ต้นทุนที่สูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่สูง (3) สินค้าที่ต้องแข่งขันกับเวียดนามมีสัดส่วนไม่มากนักเมื่อเทียบกับ
มูลค่าส่งออกโดยรวม

                 ทั้งนี้ แม้ว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จะมองภาพเศรษฐกิจไทยในเชิงบวก แต่นักเศรษฐศาสตร์ถึงร้อยละ
48.3 ก็ยังกังวลว่าปัญหาการเมืองของไทยที่ยังดำเนินอยู่และปัญหามาบตาพุดที่ยังหาทางออกไม่ได้จะส่งผลให้นักลงทุน
ย้ายฐานการผลิตหรือตัดสินใจลงทุนในประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทย

                 (โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
 
ส่วนที่ 1 ประเด็นเศรษฐกิจภายในประเทศ :
             1. ความเห็นต่อประเด็น การที่รัฐบาลจะย่นระยะเวลาในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้สิ้นสุดเร็วขึ้น

 
ร้อยละ
ไม่เห็นด้วย
เนื่องจาก  
  • เศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบางและมีความผันผวนอยู่
  • เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวดี มีความไม่แน่นอนสูง ประกอบ
    กับการลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้น รัฐจึงควรเป็นผู้นำการ
    ลงทุน
  • ปัญหาการเมืองของประเทศที่ยังคงมีอยู่ อาจเป็นปัญหา
    ในระยะถัดไป
43.1
เห็นด้วย
โดยมองว่าช่วงเวลาสิ้นสุดที่เหมาะสมคือ ไตรมาส 3 - 4 ปี
พ.ศ. 2553
41.4
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
15.5
 
 
             2. ความเห็นต่อประเด็นที่ว่า “จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในขณะนี้ พ.ร.บ. กู้เงิน 4 แสนล้านบาท
                 ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่

 
ร้อยละ
มีความจำเป็นลดลง
เนื่องจาก  เศรษฐกิจของประเทศเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้
             รัฐบาลจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น เงินใน งบประมาณ
             เพียงอย่างเดียวก็น่าจะเพียงพอ อีกทั้งยังทำให้ระดับหนี้
             สาธารณะของประเทศไม่อยู่ในระดับสูงเกินไป
37.9
ยังจำเป็นอยู่
เนื่องจาก   เศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบางอยู่ ทำให้ความจำเป็น
              ในการกระตุ้นเศรษฐกิจจึงยังคงมีอยู่   นอกจากนี้
              การใช้จ่ายดังกล่าวเป็นการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนด้าน
              โครงสร้างพื้นฐานระยะยาวที่สำคัญให้กับประเทศ เช่น
              ระบบขนส่ง ระบบน้ำ เป็นต้น อันจะช่วยสร้าง
              Potential GDP ให้กับประเทศ
36.2
ไม่มีความจำเป็นแล้ว
12.1
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
13.8
 
 
             3. ความเห็นต่อประเด็นเงินเฟ้อเดือนมกราคม 2553 ที่อยู่ในระดับร้อยละ 4.1 ว่าอัตราเงินเฟ้อ
                 จะกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจของไทย ดังที่ได้เกิดขึ้นกับเวียดนามและหลายๆ ประเทศ
                 ในขณะนี้หรือไม่


 
ร้อยละ
คาดว่าจะไม่กลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย
82.8
คาดว่าจะกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย
12.1
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
5.1
 
 
             4. ความเห็นต่อประเด็น แนวคิดนายกฯ อภิสิทธิ์ ที่จะยกเลิกโครงการหวยออนไลน์

 
ร้อยละ
เห็นด้วยที่จะยกเลิก
เพราะ  
  • จะมีผู้เล่นมากขึ้น จากการเข้าถึงที่ง่ายและเป็นการเพิ่ม
    ช่องทางการพนัน
  • ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม (ผลเสีย
    มากกว่าผลดี)
  • เป็นการเพิ่มอบายมุข มอมเมาเยาวชน
  • ไม่สามารถแก้ปัญหาหวยใต้ดินได้
46.6
ไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิก
เพราะ
  • หวยเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน ไม่มีหวยออนไลน์
    คนก็ยังเล่นอยู่ดี
  • การทำหวยให้ถูกกฎหมายน่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ/
    สร้างรายได้ให้รัฐ
  • การยกเลิกหวยออนไลน์ กลุ่มได้ประโยชน์คือเจ้ามือ/
    กลุ่มมาเฟีย
  • ทำให้เอกชนที่ลงทุนไม่เชื่อมั่นและอาจเกิดการฟ้องร้อง
    รัฐบาล
36.2
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
17.2
 
 
             5. ความเห็นต่อประเด็น การปรับตัวลดลงร้อยละ 5.17 ของตลาดหุ้นไทยในเดือนมกราคม 2553
                  (และต่อเนื่องถึงเดือนกุมภาพันธ์) เป็นผลมาจากปัจจัยใดมากที่สุด


 
ร้อยละ
ปัจจัยปัญหาด้านการเมือง
43.2
ปัจจัยเศรษฐกิจโลก
32.8
ปรับตัวลดลงตามตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาค
8.6
ปัจจัยปัญหามาบตาพุด
3.4
ปัจจัยเศรษฐกิจในประเทศ
3.4
อื่นๆ
1.7
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
6.9
 
 
             6. ความเห็นต่อประเด็นข้อมูลการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่หลายๆ หน่วยงานมีการปรับเพิ่ม
                 คาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2553


 
ร้อยละ
เชื่อว่าเศรษฐกิจของไทยจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจริงตามที่
หน่วยงานประกาศ
75.9
ไม่เชื่อว่า เศรษฐกิจของไทยจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจริง
19.0
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
5.1
 
 
ส่วนที่ 2 ประเด็นเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับต่างประเทศ :
             7. ความเห็นต่อประเด็น ปัจจัยเสี่ยงใดจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้
                 มากที่สุด


 
ร้อยละ
ปัญหาด้านการเงินของสถาบันการเงินที่ยังไม่สิ้นสุด
39.7
ปัญหาหนี้สาธารณะ
36.2
อื่นๆ เช่น -  การว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูงท่ามกลางการฟื้นตัว
   ทางเศรษฐกิจ
-  ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกยังมีอยู่
17.2
ปัญหาเงินเฟ้อ
1.7
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
5.2
 
 
             8. ในปัจจุบันที่เขตการค้าเสรี AFTA  เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา
                 และจะเปิดเสรีครบทุกประเทศในปี 2555   ท่ามกลางปัญหาทางการเมืองของไทยที่ยัง
                 ดำเนินอยู่และปัญหามาบตาพุดที่ยังหาทางออกไม่ได้   จากสถานการณ์ในปัจจุบันดังกล่าว
                 จะส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตหรือตัดสินใจลงทุนในประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทย
                 หรือไม่


 
ร้อยละ
มีผลกระทบต่อการลงทุนอย่างมาก
48.3
มีผลกระทบเล็กน้อย
34.5
ไม่น่าจะมีผลกระทบ เนื่องจากประเทศไทยมีปัจจัยอื่นที่ยังคงดึงดูด
นักลงทุนได้
13.8
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
3.4
 
 
             9. ความเห็นต่อประเด็นการลดค่าเงินด่องของประเทศเวียดนามเป็นครั้งที่ 2 ว่า จะกระทบกับ
                 การส่งออกของไทยในระดับใด


 
ร้อยละ
กระทบน้อย
เนื่องจาก  
  • สินค้าของไทยมีคุณภาพดีกว่าสินค้าของเวียดนาม
  • เวียดนามได้ประโยชน์จากค่าเงินก็จริงแต่เสียเปรียบ
    ด้านต้นทุนที่สูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่สูง
  • สินค้าที่ต้องแข่งขันกับเวียดนามมีสัดส่วนไม่มากนัก
    เมื่อเทียบกับมูลค่าส่งออกโดยรวม
69.0
กระทบมาก
เนื่องจาก
  • ประเทศเวียดนามมีโครงสร้างเศรษฐกิจและทรัพยากรที่
    คล้ายกับไทยโดยเฉพาะในแง่ของสินค้าส่งออกและ
    ตลาดส่งออกจึงอาจทำให้ไทยเสียเปรียบได้
17.2
ไม่กระทบ
8.6
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
5.2
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรง
                      ไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
                  2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์
                      สูงสุดกับประเทศไทย
 
กลุ่มตัวอย่าง:
                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี)  ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์   วิจัย
               เศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ  จำนวน 20 แห่ง ได้แก่   ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงาน
               คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์
               สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
               มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
               ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   ธนาคารกรุงศรีอยุธยา   ธนาคารธนชาติ   ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า
               แห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ บริษัท ทริสเรทติ้ง คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
               คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยทักษิณ   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
               และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                        รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายใน
               ระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 16 - 23 กุมภาพันธ์ 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 24 กุมภาพันธ์ 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
30
51.7
             หน่วยงานภาคเอกชน
19
32.8
             สถาบันการศึกษา
9
15.5
รวม
58
100.0
เพศ:    
             ชาย
32
55.2
             หญิง
26
44.8
รวม
58
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
1
1.7
             26 – 35 ปี
30
51.8
             36 – 45 ปี
13
22.4
             46 ปีขึ้นไป
14
24.1
รวม
58
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
4
6.9
             ปริญญาโท
43
74.1
             ปริญญาเอก
11
19.0
รวม
58
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
13
22.4
             6 - 10 ปี
20
34.6
             11 - 15 ปี
6
10.3
             16 - 20 ปี
5
8.6
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
14
24.1
รวม
58
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776